9 บทเรียนสำหรับการเป็นผู้ประกอบการจากซิลิคอน วัลเลย์

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมักได้รับคำแนะนำจากมือสมัครเล่น เฉกเช่นการเป็นนักกีฬาที่ดีได้คำแนะนำจากโค้ชฝึกหัด ซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้น หากคุณต้องการที่จะเป็นเลิศในสักด้าน คุณต้องเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และยิ่งคุณอยากสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแล้ว คุณยิ่งต้องเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่ชื่อ “เทคโนโลยี”

ผู้คนทั่วโลกต่างหลงใหลการเป็นผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในซิลิคอน วัลเลย์ ที่ซึ่งนวัตกรรม นายทุน และสตาร์ทอัพรวมตัวกันอยู่ที่นั่น ไม่ว่าจะเป็น Apple Cisco Facebook Google และ Intel ก็เริ่มจากที่นั่น

นอกจากนี้ที่ซิลิคอน วัลเลย์ ยังมีธุรกิจที่ผุดขึ้นใหม่ทุกวันอย่าง PayPal Netflix Uber Tesla และ Airbnb ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่ท้าทายสำหรับการเปลี่ยนโฉมรูปแบบอุตสาหกรรมดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยี และไอเดียใหม่ ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น

ถ้าคุณสนใจเรื่องราวการก่อตั้ง การเติบโต และการเป็นผู้นำของสตาร์ทอัพต่าง ๆ Steve Tobak ผู้เขียนบทความนี้ ได้กลั่นบทเรียนทั้ง 9 จากประสบการณ์ส่วนตัวของเขาในฐานะพนักงานอาวุธโส และที่ปรึกษาในอุตสาหากรรมไฮเทคแห่งนี้

ซอฟต์แวร์กำลังเขมือบโลก

Marc Andreessen ผู้ร่วมก่อตั้งและ VC ของ Netscape พูดถูกเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ซอฟต์แวร์กำลังสร้างผลกระทบ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันเกือบทุกอุตสาหกรรมบนโลกนี้ ดังนั้นคำถามที่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพทุกรายต้องตอบ คือ “คุณมี Geek แล้วหรือยัง?”ถ้ายัง คุณคงต้องเริ่มมองหา Co-Founder ที่เขียนโค้ดเป็นแล้วล่ะ

ไม่มีหรอก 4-hour workweek หรือ work-life balance

ถ้าคุณอยากเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ คุณต้องเตรียมตัวทำงาน 24 ชั่วโมงตลอดทั้งสัปดาห์ และกระโจนเข้ากลางบ่วงไฟเพื่อทำให้มันเกิดขึ้นจริง เหตุผลสำคัญ คือ ทำไมคุณไม่รักงานที่คุณทำล่ะ ไม่เช่นนั้น คุณก็อย่าหวังว่าจะรอดจากช่วงเวลาที่หฤโหด ยากลำบาก และท้าทาย เมื่อคุณเริ่มต้นสร้างธุรกิจได้ การมี Passion ต่องานที่ทำคือสิ่งกระตุ้นให้ผู้ประกอบที่แท้จริงใช้เป็นพลังขับเคลื่อนความฝันของพวกเขาให้เป็นจริงได้

ไม่มีใครสามารถทำอะไรสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว

โลกของเทคโนโลยีเต็มไปด้วยเรื่องราวของสุดยอดคู่หู หรือกลุ่มคนสุดเจ๋ง เช่น Steve Jobs และ Steve Wozniak แห่ง Apple, Andy Grove และ Gordon Moore แห่ง Intel คู่แรกสร้างเครื่อง Macintosh ส่วนคู่หลังสร้าง SUN workstation ที่ Stanford เหตุผลที่สตาร์ทอัพไม่ควรทำแบบ Solopreneur หรือผู้ประกอบการเดี่ยว คือ มันยากมากที่คุณจะประสบความสำเร็จเพียงลำพัง

คุณไปต่อไม่ได้ถ้าไม่มีเงิน

สิ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพและ SME ส่วนมากประสบความล้มเหลว คือ เงินหมด บริษัทอย่าง Facebook WhatsApp และ Alibaba ในช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจต้องออกเงินเองก่อน (Bootstrapping) การที่ธุรกิจเหล่านี้ต้องการเงิน ก็เพื่อช่วยในเรื่องการขยายตัวของธุรกิจ จำไว้ว่านี่คือสมการของสตาร์ทอัพ founders + venture capital = startup การออกเงินเองก่อนได้ฆ่า Startup หลายรายให้ตายมาแล้ว เพราะคุณไม่สามารถขยายขนาดธุรกิจได้หากปราศจากเงินทุน

ถ้าคุณไม่สร้าง ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

“ถ้าคุณสร้าง ก็จะมีอะไรเกิดขึ้น” ฟังดูอาจจะไม่ถูกซะทีเดียว แต่ “ถ้าคุณไม่สร้าง ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น” นี่คือสัจธรรม คุณจะไม่มีโอกาสได้เป็นผู้ประกอบการเลย ถ้าคุณไม่ลุกขึ้นมาทำงาน, สร้าง Product และส่งมันไปให้ผู้คนได้ใช้ Mark Zuckerberg ใช้วิธีการที่เรียกว่า “Move fast and break things” หรือ “สร้างให้เร็ว แต่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ” เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐานใหม่ และพบเจอโอกาสใหม่ ๆ

ประสบการณ์ผู้ใช้ คือ สิ่งสำคัญ

ประสบการณ์ผู้ใช้ที่มีต่อ Product จะเป็นตัวขับเคลื่อนความผูกพัน ความพึงพอใจ และเกิดการซื้อ เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ Tivo, Uber และ iPhone ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ประสบการณ์ผู้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นของหลายธุรกิจ หากยังจำกันได้ GUI และเม้าส์คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาที่ SRI และ Xerox PARC ก่อนที่จ็อบส์จะฉกไอเดียนี้ไปทำให้ Mac ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกันกับ Netscape Navigator ที่ UI คือ Key สำคัญที่ทำให้ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง

อย่ายึดติดกับไอเดียแรก

แทบไม่มีบริษัทไหนที่เติบโตจนยิ่งใหญ่จากไอเดียหรือ Product แรกเริ่ม Twitter ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงที่บรรดาผู้ก่อตั้งทำ Odeo ธุรกิจ Podcast ซึ่งไม่ Work นอกจากนี้ยังมีกรณีของ Google ในช่วงที่ตลาด Search Engine ยังกระจัดการจายอยู่ Google มีส่วนแบ่งเพียง 8% เท่านั้นเมื่อบริษัทปล่อยบริการ AdWords ในเดือนตุลาคม ปี 2000 แต่ AdWords ก็เป็นบริการที่ทำให้ Google ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นหาใช่ Search Engine ไม่

จะยอมแตกต่าง หรือยอมตาย

เว็บโมบายเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมในการทำธุรกิจยุคโมบายอินเทอร์เน็ต เพราะเข้าถึงได้ง่าย และใช้ต้นทุนต่ำ แน่นอนว่าเว็บสามารถยกระดับการแข่งขันในสนามได้ ซึ่งไม่ใช่แค่คุณ แต่เป็นทุกคนเลยต่างหาก ดังนั้นถ้าจะให้ดี คือ จงเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงโดยทำ Product ที่แตกต่าง และดีกว่า Product ตัวอื่น ๆ ที่มีอยู่หากคุณอยากชนะ และแน่นอนว่าคุณจำเป็นต้องทำ

จงเชื่อในสัญชาตญาณของคุณ

ทุกสตาร์ทอัพจะโฟกัสไปที่จุดเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง เริ่มจาก การแสดงแนวคิดของธุรกิจ, ตามด้วยการปล่อย Product, การได้รับ Traction จากลูกค้า และสุดท้าย คือ การขยายส่วนแบ่งตลาด แน่นอนว่าคุณจำเป็นต้องมีเงินเพื่อไปต่อ แต่ที่สำคัญเลยคือคุณต้องหัดเรียนรู้เรื่องการโฟกัส และปฏิเสธให้มาก ดังนั้นเมื่อโอกาสมาถึงคุณต้องตระหนักรู้ทันทีว่าจะใช้มันทำอะไร เฉกเช่น สตีฟ จ็อบส์ เมื่อได้เห็น GUI และเม้าส์ นี่แหละคือ “ใช่เลย”

แล้วเหตุการณ์ไหนที่คุณจะต้องพูดปฏิเสธล่ะ แน่นอนว่าโอกาสเหล่านี้นาน ๆ จะมาทีเหมือนกัน แต่จงเชื่อในสัญชาตญาณของคุณ เบื้องหลังของสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะผู้ก่อตั้งมีความกล้าที่จะเผชิญความกลัวจากสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ และพร้อมที่จะกระโจนออกจากหน้าผา เหล่านี้คือสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการในซิลิคอน วัลเลย์แสดงให้พวกเราได้เห็นมานักต่อนักแล้ว

Comments

comments