10 สตาร์ทอัพที่โคตรประสบความสำเร็จในการทำ MVP ตอนจบ

ในโลกไอทียังมีอะไรให้เราตื่นเต้นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไอเดียเจ๋ง ๆ นวัตกรรมพลิกโลก หรือแนวคิดที่จุดประกายผู้คนให้ลุกขึ้นมาทำตามฝัน บทความ 10 สตาร์ทอัพที่โคตรประสบความสำเร็จในการทำ MVP เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายแล้ว ใครยังไม่อ่านตอนที่ 1 กับตอนที่ 2 ไปตามอ่านกันได้ หวังว่าเพื่อน ๆ คงได้ไอเดียเหล่านี้ไปต่อยอดการพัฒนา Product ของตัวเองนะครับ

7. Zynga

10 สตาร์ทอัพที่โคตรประสบความสำเร็จในการทำ MVP ตอนจบPhoto credit: Zynga Rewardville

Zynga เกมสตูดิโอที่สร้าง Social game ชื่อสุดฮิตอย่าง Farmville ทำรายได้จากการขายไอเท็มในเกมได้กว่า 1 พันล้านเหรียญ ขั้นตอนการพัฒนาเกม บริษัทได้ใช้วิธีผสมระหว่างการทำ Landing page กับ Adwords MVP tests เพื่อวัดความสนใจรวมถึงความคาดหวังของนักเกมเล่นอีกด้วย

บริษัทใช้วิธีการปล่อยโฆษณาสั้นเกี่ยวกับเกม เพื่อให้ผู้คนเห็นถึงไอเดียและฟีเจอร์ของตัวเกม วิธีนี้ช่วยให้บริษัทสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทางพัฒนา และหลีกเลี่ยงการสูญเสียทรัพยากรในการสร้างเกมที่ผู้เล่นจะติดหนึบวางมือไม่ลงได้ดีทีเดียว

8. Foursquare10 สตาร์ทอัพที่โคตรประสบความสำเร็จในการทำ MVP ตอนจบ

Photo credit: Foursquare scores despite its flaws

Foursquare เป็น location-based social network ที่ให้ผู้คน check-in ตำแหน่งปัจจบุันเพื่อแชร์ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวทราบ หลังจากที่ social network ตัวแรกที่ชื่อ Dodgeball ถูก Google ซื้อไป Dennis Crowley และ Naveen Selvadurai สองผู้ก่อตั้งได้ออกมาทำแอพมือถือตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Foursquare

ย้อนกลับไปช่วงหานักลงทุน พวกเขาไม่ยอมเสียเวลาไปกับการพัฒนาแอพมากนัก โดยโฟกัสทำแค่ 1 ฟีเจอร์ (single-featured MVP) ซึ่งช่วยให้ทั้งคู่ไม่จมไปกับการออกแบบและฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ พวกเขาเริ่มด้วยฟีเจอร์ check-in และ gamification rewards (การให้รางวัลแก่ผู้ check-in เช่นใคร check-in เยอะจะได้เป็นเจ้าถิ่นหรือ Mayor) และเน้นที่การปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้โดยอาศัยผลตอบรับจากผู้ใช้

เมื่อตัวฟีเจอร์พื้นฐานเป็นที่น่าพอใจแล้ว พวกเขาจึงเริ่มทำการเพิ่มฟีเจอร์อื่น ๆ เช่นการแนะนำสถานที่และการนำเที่ยวในเมือง นอกจากนี้พวกเขายังใช้ service ฟรีที่มีอยู่แล้วอย่าง Google Docs ในการรวมรวบผลตอบรับและความต้องการของผู้ใช้ เห็นได้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างในตอนเริ่มสร้างธุรกิจ คุณโฟกัสแค่ฟีเจอร์เดียวที่สำคัญที่สุดแล้วค่อยขยายออกไปในภายหลัง

9. Spotify10 สตาร์ทอัพที่โคตรประสบความสำเร็จในการทำ MVP ตอนจบ

Photo credit: Spotify set to take America by storm

Spotify ใช้วงจรการพัฒนา product 4 ขั้นตอนทำซ้ำไปเรื่อย ๆ คือ Think, it, Build it, Ship it, Tweak it ปี 2009 Spotify ปล่อย landing page ที่มีแค่ 1 ฟีเจอร์ คือ ประสบการณ์การฟังเพลงแบบสตรีมมิ่งบนอินเทอร์เน็ต เมื่อทำแอพใช้งานบนเดสท็อป ทีมงานสามารถทดสอบตลาดได้โดยการจำกัดผู้ใช้งาน รวมถึงสร้างโมเมนตั้มเพื่อแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในอุตสาหกรรมเพลง แน่นอนพวกเขามีแผนที่จะขยายบริการไปยังอเมริกา (Spotify กำเนิดที่สวีเดน)

วงจรการพัฒนาของ Spotify เหมือนกับกระบวนการ Agile ในทุกวันนี้ มี 1 ใน 4 ขั้นตอน ที่เป็น Lean คือ การใช้ทีมขนาดเล็กทำงานเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดย Think it คือ การทดสอบข้อดีของการทำ MVP ในระดับแนวคิด Build it คือ การปล่อย MVP ที่จับต้องได้ออกไปเพื่อทดสอบคุณภาพ Ship it และ Tweak it คือ เฟสที่มั่นใจในคุณภาพในระยะยาวและลูกค้ายอมรับในตัว MVP ที่ปล่อยออกไปแล้ว ท้ายที่สุดคือการนำผลตอบรับจากผู้ใช้กลับมาทำซ้ำ 4 ขั้นตอนอีกครั้ง

10. Pebble10 สตาร์ทอัพที่โคตรประสบความสำเร็จในการทำ MVP ตอนจบ

Photo credit: Pebble, E-Paper Watch for iPhone and Android

Pebble นาฬิกาอัจฉริยะหน้าจอ e-ink หนึ่งในผู้พัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable) ที่สามารถทำ product เข้าถึงผู้ใช้ทั่วไปได้ หลังจากที่เงินจากนายทุนหมดลง Eric Migicovsky ผู้ก่อตั้ง ได้หันไปใช้วิธีระดมทุนจากมวลชนบนเว็บ Kickstarter แทน ถือเป็นอีกหนึ่งโปรเจ็คต์ที่ระดมทุนสำเร็จ และได้เงินทุนไปกว่า 10 ล้านเหรียญ

Migicovsky ใช้วิดีโอ (Explainer Video) ในการแสดงต้นแบบนาฬิกา และสอบถามผู้ที่สนใจเพื่อขอเงินทุน Migicovsky และทีมได้เงินทุนทะลุเป้าที่ตั้งไว้ 100,000 เหรียญภายใน 2 ชั่วโมง และเมื่อสิ้นสัปดาห์พวกเขาระดมทุนได้ 600,000 เหรียญ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาระดมทุน มีผู้คนให้เงินมากกว่า 6 หมื่นคน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10.2 ล้านเหรียญ เงินเหล่านี้ถูกนำไปใช้พัฒนา Pebble สำหรับผู้บริโภคทั่วไป และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2014 Pebble ขายไปแล้วมากกว่า 400,000 เรือนเลยทีเดียว

สรุป

  • Synga ใช้ landing page และ Adwords MVP tests เพื่อทดสอบความต้องการและความคาดหวังของนักเล่นเกมที่มีต่อเกมที่พวกเขาสร้างขึ้น ช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาเกม และลดความเสี่ยง
  • Foursquare เริ่มจาก single-featured MVP คือ ทำแค่ฟีเจอร์เดียวที่เป็น core หลักของแอพ เมื่อนิ่งแล้วค่อยขยายไปทำฟีเจอร์อื่นเพิ่มเติม
  • Spotify เริ่มจาก landing page และ single-featured MVP จากนั้นพัฒนาแอพเพื่อทดสอบตลาดการฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง และใช้วงจรพัฒนา product 4 ขั้นตอน คือ Think it, Build it, Ship it และ Tweak it เข้ามาช่วยปรับปรุง product วนซ้ำไปเรื่อย ๆ
  • Pebble ใช้ Explainer Video นำเสนอตัวต้นแบบนาฬิกา ให้ผู้ที่สนใจมาร่วมลงทุนเพื่อสร้าง product ผ่านช่องทางการระดมสุดฮอตอย่าง Kickstarter

Comments

comments