5 บทเรียนน่าทึ่งสำหรับผู้ประกอบการจาก Mark Zuckerberg

ผมจำได้ว่าเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว Facebook จะตกอยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยงเอามาก ๆ ตั้งแต่การเปิดซื้อขายหุ้น IPO ที่ตอนนั้นราคาอยู่ที่ 38 เหรียญ และผ่านไปไม่กี่วันราคาก็ลดลงจนต่ำกว่าราคา IPO ทำเอาผู้ถือหุ้นเดือดร้อนไปตาม ๆ กัน

นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ การรุกเข้าสู่ตลาดโมบายของ Facebook ที่ยังลูกผีลูกคน ว่าตกลงจะเอายังไงกันแน่ เพราะ Facebook โด่งดังมาจากแพลตฟอร์มเว็บ แต่มือถือคืออนาคต เทคโนโลยีที่ Facebook นำมาใช้ทำแอพ คือ HTML5 ซึ่งให้ประสบการณ์ที่ย่ำแย่กับผู้ใช้ (ภายหลังปรับมาใช้เป็น Native) รวมถึงข่าวลือที่ว่า Mark Zuckerberg ไม่ใช่คนที่เหมาะสมจะเป็น CEO ให้กับ Facebook

อย่างไรก็ตามสถานการณ์ก็ดูคลี่คลาย ภายหลังที่ Facebook พิสูจน์ให้ทั่วโลกเห็นถึงความสำเร็จ ด้วยการกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก มูลค่าของ Facebook นั้นสูงถึง 3 ล้านล้านเหรียญเลยทีเดียว

บทความนี้ เขียนแง่คิดหรือบทเรียนที่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพทั่วโลกได้เรียนรู้จาก Facebook และชายที่ชื่อว่า Mark Zuckerberg ครับ

1. “แยกธุรกิจกับเพื่อนออกจากกัน”

จาก Kristen Koh Goldstein ผู้ก่อตั้ง และ CEO, Scalus:

หนึ่งบทเรียนสำคัญที่ผู้ก่อตั้งทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จาก Mark คือ ความสามารถในการแยกแยะระหว่างธุรกิจกับเพื่อน หากคุณเคยดูภาพยนตร์ The Social Network ในปี 2010 คุณคงจำเหตุการณ์ที่ Mark ขับไล่ผู้มีส่วนร่วมก่อตั้ง Facebook กันได้ นั่นคือ Eduardo Saverin กับ Sean Parker

Mark ขับไล่เมื่อเขารู้สึกว่าคนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับ Facebook ได้อีกแล้ว แน่นอนว่ามี CEO อีก หลายคนที่ให้ค่าความไว้วางใจกับเพื่อนฝูงที่ทำธุรกิจร่วมกันมา มากกว่ากว่าความต้องการของบริษัท

มิตรภาพจะช่วยทำให้ทีมออกตัวได้ดีในช่วงเริ่ม เพราะทีมเล็กมีความคล่องตัว ความรับผิดชอบ และเป้าหมายร่วมกันเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปได้เร็ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งเริ่มผันตัวไปเป็นผู้จัดการจอมจู้จี้ นั่นเป็นการทำลายทีมทั้งหมด และกลายเป็นขวากหนามที่ขัดขวางการเติบโตขั้นต่อไปของธุรกิจ ดังนั้น Mark กับทีม Facebook จึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสถานการณ์รูปแบบนี้ขึ้นมา

2. “เดินหน้าเร็ว และทำสิ่งใหม่”

จาก Marius Moscovici ผู้ก่อตั้ง และ CEO, Metric Insights:

“Move fast, and break things” 5 คำที่สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาที่ Facebook โอบรับไปใช้ในการทำธุรกิจ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วในระดับที่ไม่เคยมีใครได้ทำมาก่อน

ในขณะที่ธุรกิจส่วนใหญ่ต่างดิ้นรน เพื่อคงสภาพปัจจุบันที่มีผลมาจากความสำเร็จในอดีต แต่ Mark กลับอ้าแขนรับแนวคิด “ทำสิ่งใหม่” ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุง Product อย่างต่อเนื่อง

แนวทางนี้ชัดเจนมากเมื่อ Facebook ประกาศว่าพวกเขายอมเปลี่ยนทิศ (Pivot) จากไปสู่ Mobile เพราะมันคือแพลตฟอร์มที่สำคัญมากในอนาคตสำหรับ Facebook

3. “เคล็ดลับ คือ อย่ายัดสิ่งต่าง ๆ เข้าไป แต่จงนำมันออกมา”

จาก Christian Turlica ผู้ก่อตั้ง และ CEO, UP Social

Facebook เกิดขึ้นที่ Harvard Aaron และในสมับนั้นก็มี HouseSYSTEM ที่เป็นคู่แข่ง Aaron Greenspan ผู้ก่อตั้ง ครั้งหนึ่งเคยอยากที่จะทำงานร่วมกับ Mark แต่ Mark กล่าวว่า “นี่มันสารพัดประโยชน์มากเกินไป มันทำได้หลายอย่างเกินไป”

เมื่อคุณสร้าง Product การที่คุณจะใส่ฟีเจอร์ต่าง ๆ เข้าไปนั้นมันสำคัญมาก ซึ่งฟีเจอร์นั้นต้องจำเป็นจริง ๆ สำหรับผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย อย่าสร้าง Product เพื่อใช้ในห้องนักบิน ที่สามารถควบคุมได้ทุกอย่าง เพราะนั่นคือการลดคุณค่า (ผู้ใช้ไม่รู้ว่าจุดเด่นของ Product คุณคืออะไร) และทำให้ Product ของคุณตายในที่สุด

4. “คิดใหญ่ เริ่มเล็ก”

จาก Matt Chasen, ผู้ก่อตั้ง และ CEO, uShip

ตอนที่ Mark ปล่อย Facebook ออกไป Product นั้นเรียบง่ายและมีขนาดเล็ก นั่นช่วยให้ “นักศึกษา” ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่าย จากนั้น Mark ได้ขยายไปยังกลุ่มคนที่หัวก้าวหน้า และเปิดรับเรื่องนวัตกรรม (Early Adopters) เมื่อพิชิตได้สำเร็จ Facebook ก็พร้อมที่จะขยายวงกว้างขึ้นให้คนทั่วไปเข้าใช้งานได้

แนวทางการขยายตัวของ Facebook ยึดหลักปรัชญา “Think big, start small” หรือ “คิดใหญ่ เริ่มเล็ก” ซึ่งแนวทางนี้ทำให้ Facebook กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่แพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ คือ เริ่มจากเข้าถึงผู้ใช้ Early Adopters ก่อนที่จะขยายออกไปวงกว้าง

5. “อยู่กับ Product”

จาก Kraig Swensrud, CMO, Campaign Monitor

เราแทบไม่เคยเห็น Mark เอาตัวเองออกห่างจาก Facebook เลย ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าคุณเป็น CEO, CMO หรือแม้กระทั่งเด็กฝึกงานช่วงปิดเทอม การเข้าใจ Product อย่างลึกซึ้งเป็นเรื่องสำคัญ

การผูกตัวเองเข้ากับ Product นี้ช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าทุกคนมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบในการส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่เป็นเลิศ วิธีนี้ยังช่วยให้คุณสัมผัสได้ถึงความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

ที่มา https://www.entrepreneur.com/article/271229

Comments

comments