คำศัพท์เฉพาะในวงการสตาร์ทอัพที่คุณควรรู้จัก

ผมเคยผ่านตากับคำว่า “ยูนิคอร์น” ในข่าวหรือบทความเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ ก็เลยแอบสงสัยว่าธุรกิจไอทีมันเกี่ยวกับอะไรม้ามีเขาในนิยายแฟนตาซีด้วย พอลองค้นหาก็พบบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Jargon หรือภาษา/คำเฉพาะที่ใช้ในวงการสตาร์ทอัพ ผมเห็นว่ามีหลายคำที่น่าสนใจเลยเอามาฝากกันครับ

1. Unicorn

“ยูนิคอร์น” (Unicorn) เป็นคำที่เราพบบ่อยตามข่าวสตาร์ทอัพชื่อดัง หมายถึง ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญ (1 billion) เช่น Uber Airbnb และ Snapchat นอกจากยูนิคอร์นนี้ยังมีคำว่า “เดเคคอร์น” (Decacorn) มาจากคำว่า (Deca-) ที่แปลว่า 10 หมายถึง ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 10 billion หรือ 1 หมื่นล้านเหรียญ เช่น Dropbox, SpaceX, Flipkart และ Pinterest

2. Frothy startup valuations

หุ้นราคาแพง หรือ หุ้นที่มีราคาซื้อขายที่สูงเกินกว่ามูลค่าที่เหมาะสม (Overvalued stock) มักถูกเรียกว่า “Frothy” ซึ่งปัจจุบันใช้แทนคำว่า “ฟองสบู่” (Bubble) สะท้อนถึงธุรกิจสตาร์ทอัพที่ถูกมองว่าจะมีมูลค่าต่อหุ้นสูง ซึ่งมาจากคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นในอนาคตของนักลงทุน ความกลัวที่จะตกเทรนด์ และการที่ธุรกิจมีแนวโน้มจะไปสู่การเป็นยูนิคอร์น ซึ่ง Frothy นั้นเป็นเรื่องดีสำหรับผู้ประกอบการ

3. Seed-round investment

การลงทุนในรอบ Seed มักถูกเข้าใจผิดว่า ธุรกิจได้รับเงินมาเพื่อพัฒนา Product ในช่วงเริ่มต้น แต่แท้จริงแล้วมัน คือ การที่ธุรกิจได้รับเงินลงทุนครั้งแรกจาก Venture Capital (VC) เพื่อใช้ในการเปิดตัว Product หรือขยายธุรกิจให่เข้าถึงผู้ใช้และสร้างผลกำไรมากขึ้น

ก่อนที่จะมองหาการลงทุนรอบ Seed ธุรกิจส่วนใหญ่อาศัยเงินทุนของผู้ก่อตั้ง เพื่อน หรือคนในครอบครัวมาเพื่อพัฒนา Product ให้เสร็จ ภายหลังจากการได้รับเงินลงทุนในรอบ Seed ธุรกิจก็มีเงินที่จะเร่งการเติบโต และมองหาเงินลงทุนจำนวนที่เยอะขึ้นนั่นคือการลงทุนในรอบ Series A

4. Super-angel investors (micro-VCs)

Super Angel หรือ Micro-VC หมายถึง พวกนักลงทุนมือโปรที่ลงทุนในสตาร์ทอัพด้วยเงินตัวเองคล้ายกับ Angel แตที่ต่าง คือ คนเหล่านี้มีทรัพยากร ความเข้าใจ และคอนเนคชั่นกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่กว้างกว่า ยกตัวอย่างเช่่น  Ron Conway แห่ง SV Angels และ Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง LinkedIn ก็จัดอยู่ในนักลงทุนประเภทนี้

5. Deep-dive meeting

Deep dive meeting หรือการเรียกมาคุยแบบเจาะลึก เกิดขึ้นภายหลังจากที่คุณได้ Pitch หรือเสนอขายธุรกิจของคุณแก่นักลงทุน หากมีนักลงทุนสนใจ พวกเขาจะชวนคุณมา deep-dive meeting เพื่อคุยรายละเอียดมากขึ้นด้วยคำถามที่ยากก่อนที่จะให้ข้อคิดเห็น

แม้ว่าการเรียกไปสอบถามเรื่องยาก ๆ จะเป็นที่น่าหวาดหวั่น แต่มันก็เป็นสัญญาณที่ดีกับผู้ประกอบการ เพราะทักษะ ความเข้าใจในธุรกิจ และแรงจูงใจของคุณจะถูกทดสอบโดยนักลงทุนที่มองเห็นศักยภาพ ดังนั้นจงเตรียมตัวไว้ให้ดี

6. Sweat equity

ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนมากมักนำส่วนตัวเงินมาลงธุรกิจเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี โดยที่ไม่มีการจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเอง การทำงานที่ไม่ได้ค่าจ้างนี้ เป็นการวัดว่าผู้ที่มีส่วนในการก่อตั้งสตาร์ทอัพนั้นมีความทุ่มเท และมีบทบาทต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน

Sweat equity คือ หุ้นจากแรงงาน แทนที่จะเป็นหุ้นจากการลงเงิน ซึ่งท้ายที่สุด Sweat equity จะถูกนำมาพิจารณา เมื่อคุณมีการขายหุ้นบริษัทหรือมีหุ้นส่วนมาร่วมทำธุรกิจ

7. Equity crowdfunding

Equity crowdfunding คือ การให้หุ้นแก่คนที่มาระดมทุนให้กับธุรกิจ โดยปกติเว็บไซต์ระดมจากมวลชน (Crowdfunding) มักเคลมว่าจะช่วยให้คุณได้เงินทุนเพื่อไปทำสตาร์ทอัพ ในรูปแบบการบริจาคเงิน พรีออร์เดอร์ หรือเหรียญรางวัล

แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่อเมริกาได้มีการออกกฎใหม่สำหรับสตาร์ทอัพที่ระดมทุนผ่าน Crowdfunding ได้ถึง 50 ล้านเหรียญฯ แลกกับหุ้นบริษัท โดยธุรกิจสามารถเสนอขายหุ้นให้กับบุคคลภายนอกที่เป็น Non-accredited investors

8. Ramen-profitable

ผมเคยเขียนถึงการทำกำไรแบบราเม็งไปแล้วในบทความของ Paul Graham ไปตามอ่านกันได้ที่นี่ครับ http://startitup.in.th/how-to-succeed-in-a-startups/

การทำกำไรแบบราเม็ง เกิดขึ้นเมื่อสตาร์ทอัพประกาศว่า ธุรกิจมีกระแสเงินสดเป็นบวก (Positive Cash Flow) เกิดขึ้นแต่ยังไม่สามารถที่จะจ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้ก่อตั้งได้ ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยถึง การที่ผู้ก่อตั้งธุรกิจสามารถอยู่ได้ด้วยการกินบะหมี่ถ้วย และมีเงินพอที่จะจ่ายค่ากินอยู่ของตัวเองแบบฉิวเฉียด โดยปกติ “Ramen-Profitable” เป็นคำในเชิงบวกและได้รับการยอมรับว่าธุรกิจสามารถที่จะตั้งตัวได้ (แต่ยังไม่ถึงกับทำกำไรมหาศาล)

9. Growth-hacking marketing

หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “Growth-hacking marketing” หมายถึง กลยุทธทางการตลาดที่ช่วยเร่งการเติบโตให้กับธุรกิจแบบก้าวกระโดด เช่น การใช้ Social Media และ Viral Marketing ซึ่งแตกต่างจากการตลาดแบบเดิมที่มักพึ่งพา Traditional Media จำพวกวิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์

นอกจากนี้ยังมีคำว่า “Growth hackers” หรือพวกคนที่ทำการตลาดด้วยกลยุทธดังกล่าว ซึ่งมีความฉลาดเทียบเท่ากับพวกแฮกเกอร์ซอฟต์แวร์ และได้รับการยอมรับอย่างมากจากพวกนักลงทุน

10. Acquire a startup

Acquire a startup คือ การเข้าซื้อธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมากเกิดขึ้นกรณีที่นักลงทุนประทับใจในทักษะและความเชี่ยวชาญของทีมสตาร์มอัพอย่างมาก แต่ไม่ประทับใจในเรื่องของศักยภาพทางธุรกิจและไอเดียที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น นักลงทุนอาจตัดสินใจซื้อทีมสตาร์ทอัพนั้น เพื่อจ้างไปทำโปรเจ็คอื่น ๆ ที่อยู่ในพอร์ตของนักลงทุน ส่วนมากข้อเสนอซื้อทีมมักมาพร้อมกับ Option ที่ดึงดูดใจมากมาย ดังนั้นหากคุณเจอข้อเสนอในรูปแบบนี้ จงระวังตัวไว้ให้ดี

Comments

comments