Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนจบ)

มาต่อกันด้วยตอนจบของสตาร์ทอัพ Lyft บริการโดยสารรถร่วมกันแบบ On-demand หากใครยังไม่อ่านตอนแรก ไล่ย้อนกลับไปอ่านได้ที่นี่ครับ “Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนแรก)”

เรื่องราวของ Lyft ทำให้เราได้บทเรียนอย่างหนึ่ง คือ เราจะยึดติดกับ Comfort Zone (รายได้ของ Zimride ถือว่าไม่ขี้เหร่เลยเพียงแต่ธุรกิจไม่สามารถโตไปได้มากกว่านี้) หรือกล้าที่จะลองเสี่ยงทำสิ่งใหม่หลังจากที่ล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน ที่เค้าบอกว่าคุณล้มเหลวได้หลายครั้ง แต่ขอให้โดนสักครั้งก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดกับสตาร์ทอัพรายนี้ครับ น่าสนใจใช่มั้ยครับงั้นมาติดตามกันต่อเลยดีกว่า

ความเดิมจากตอนที่แล้ว

Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนจบ)
Credit: techcrunch.com

John และ Logan สองหนุ่มผู้ก่อตั้ง Zimride บริการแชร์รถร่วม ซึ่ง Logan ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเดินทางไปเที่ยวที่ Zimbubwe และลองนำแนวคิด Carpool มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหารถติดบนท้องถนนที่เกิดขึ้นในบ้านเกิด ทั้งสองเน้นไปที่กลุ่มนศ.ที่ต้องการเดินทางจากมหาวิทยาลัย เพื่อกลับบ้านในช่วงวันหยุด หรือเทศกาล ก่อนที่จะต่อยอดมาจับตลาดกลุ่มพนักงานบริษัท ซึ่งช่วยให้บริษัทมีรายได้มากขึ้น

พวกเขาระดมทุนมาจนถึงรอบ Series A เพื่อนำไปใช้ทำตลาดฝั่งผู้ใช้ทั่วไป โดยคิดว่าน่าจะมียอดผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่การคาดคะเนกลับพลิกผัน เมื่อจำนวนผู้ใช้นั้นไม่ได้เติบโตไปอย่างที่พวกเขาคิด เพราะบริการแบบนี้คนใช้แค่ 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น

ทีมวิศวกรในบริษัทจึงตัดสินใจทำในสิ่งที่ยากที่สุด คือ การหยุดพัฒนา Zimride ซึ่งแผนที่วางไว้เดินทางมาถึงการทำแอพมือถือ เพราะกลัวว่าทำไปก็ไม่มีคนใช้ สองผู้ก่อตั้งเห็นสัญญาณไม่ดีจากลูกทีมจึงตัดสินใจจัด Hack Day ขึ้นมา ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งสำหรับ Zimride ไปสู่ Lyft ในที่สุด

Hack Day จุดเปลี่ยนจาก Zimride สู่ Lyft

และแล้ว Hack Day ก็มาถึง ทุกอย่างในตอนนั้นมืดแปดด้านทุกคนไม่รู้ว่า Zimride จะก้าวไปในทางไหนต่อ ดังนั้นแทนที่จะมาสร้างแอพมือถือ John และ Logan กลับกระตุ้นลูกทีมให้ทำสิ่งที่แตกต่าง นั่นคือการเค้นไอเดียเพื่อสร้างสิ่งใหม่ แอพมือถือที่จะทำให้ผู้ใช้เข้ามาใน Platform ของ Zimride เพิ่มมากขึ้น

Frank Yoo หัวหน้าที่รับผิดชอบ Product ฝั่งมือถือทำงานร่วมกันกับสองผู้ก่อตั้ง พวกเขาระดมสมองได้ไอเดียแรกที่ชื่อ “On My Way” เป็นแอพที่ผู้ใช้สามารถแจ้งเตือนเพื่อน ได้ว่าพวกเขากำลังเดินทางไปไหน และบอกเวลาที่จะถึงจุดหมายคร่าว ๆ ได้

ไอเดียที่สอง คือ “Journey” แอพที่ผู้ใช้สามารถบันทึกการเดินทางในรูปแบบของ รูปภาพ วิดีโอ และเพลงที่พวกเขาฟังขณะเดินทางได้ ดูเหมือนว่าไอเดียที่ชนะจะเป็นไอเดียที่สาม คือ “Zimride Instant” ซึ่งเป็นแนวคิดคล้ายกับ Uber ผู้ใช้สามารถเรียกรถร่วมโดยสารได้จากมือถือของตัวเอง แต่แทนที่จะใช้คนขับที่มีใบอนุญาตแบบ Uber, Zimride Instant จะใช้สมาชิกใน Community เพื่อรับส่งสมาชิกด้วยกันเองภายในเมืองนั้น ๆ

Zimride Instant เป็นไอเดียที่ทีมอยากใช้ และไอเดียนี้ตรงกับวิสัยทัศน์ของ John กับ Logan คือ การเพิ่มอัตราการครองที่นั่ง (Occupancy rate) โดยการเพิ่มคนลงไปนั่งในรถยนต์ (ซึ่งมีที่นั่งว่าง) ให้มากที่สุด

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเดินไปทางไหนต่อ สองหนุ่มจึงเรียกทีมวิศวกรทั้งหมดมาประชุม เพื่อประกาศแผนซึ่งมีบางคนยกมือถือว่า “อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จ และถ้ามันไม่โดน เราจะหยุดทำมันเมื่อไหร่”

ไม่แปลกที่จะมีคนกังวล เพราะที่ผ่านมา Zimride สั่งหยุดการทดลองที่ล้มเหลวมาเยอะ แต่ John และ Logan กลับเชื่อว่าครั้งนี้มันต้องเวิร์ก และถามหัวหน้าวิศวกรอย่าง Sebastian Brannstrom ว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ “ราวสองเดือน” หัวหน้าวิศวกรตอบ นั่นช้าไปคุณมีเวลาทำให้เสร็จภายในสองอาทิตย์

เดินหน้าสร้าง Lyft

Logan, Yoo และ Brannstrom รับหน้าที่พัฒนาแอพ ส่วน John รับผิดชอบส่วนประสบการณ์ผู้ใช้ โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร มันยากกว่าการออกแบบปฏิสัมพันธ์ผู้ใช้กับแอพ แต่เขาก็นำประสบการณ์ในงานบริการ (John จบการโรงแรม) มาใช้ให้เกิดประโยชน์

John เล่าว่า “ตอนที่พวกเราออกแบบ Lyft เราคิดว่ากำลังออกแบบโรงแรมที่มีเอกลักษณ์ และสนุก ผมคิดตลอดเวลาว่าทำอย่างไรที่เราจะออกแบบความพอใจ และความสุขใส่ลงไปในทุกอณูของ Lyft”

การที่ทีมต้องการวางตำแหน่ง Product ใหม่ให้แยกออกจากบริการของ Zimride พวกเขาจึงรีแบรนด์จาก “Zimride Instant” ไปเป็น “Lyft” แอพเวอร์ชันแรกถูกออกแบบมาให้ดูเป็นมิตร โดยใช้แนวทางการออกแบบการ์ตูน

ต่างจาก Uber คือประสบการณ์เดินทางที่เป็นมิตร

สิ่งที่เหนือกว่าแอพ คือ การสร้างประสบการณ์การเดินทางที่สะท้อนถึงค่านิยมของบริษัท สองผู้ก่อตั้งไม่ต้องการให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์เหมือนการนั่งรถ Taxi หรือ Uber ซึ่งส่วนใหญ่ผู้โดยสารจะนั่งเบาะหลัง และไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนขับ แต่ด้วยความที่ Zimride เป็น Community การสร้าง Lyft จะต้องยึดแนวทางนี้ด้วย

John เชื่อว่าการให้ผู้โดยสารไปนั่งเบาะหน้า จะให้ประสบการณ์คล้ายกับการนั่งรถไปกับเพื่อน ดังนั้นทีมจึงตั้งสโลแกนว่า “Your Friend With A Car” เพื่อสื่อให้เห็นว่า Lyft มี Nature ความเป็นสังคมหรือ Community

Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนจบ)
Credit: sfgate.com

ส่วน Logan นำไอเดีย “ชูกำปั้นชนกัน” ระหว่างคนขับกับผู้โดยสารมาใช้ ไอเดียนี้มาจากการโต้เถียงกันในทีมว่า Logan กล่าวว่า “ผู้โดยสารไม่อยากจับมือกับคนชับหรอก ถ้าใช้วิธีนี้ทั้งสองฝ่ายจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องมือเปียกเหงื่อ”

ในปี 2010 John ได้ยินเรื่องของ Carstache หรือการเอาหนวดสีสันสดใสมาติดไว้ที่หน้ารถ นี่อาจฟังดูเป็นเรื่องตลก แต่สำหรับ John เขามองว่า Carstache คือ สุดยอดวิธีที่จะทำให้ผู้คนพูดถึง Lyft และทำให้ทั้งคนขับและผู้โดยสารเห็นแล้วอดยิ้มไม่ได้

แม้จะมีสมาชิกในทีมเห็นว่าเรื่อง การติดหนวดสีชมพูกับรถยนต์เป็นเรื่องที่บ้าง แต่มันก็กลายเป็นฟีเจอร์เด่นให้กับบริการตัวใหม่นี้เสียแล้ว ภายหลัง Lyft เปลี่ยนจากหนวดหน้ารถ มาเป็นหนวดไฟติดหลังกระจกหน้ารถแทน

Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนจบ)
Credit: venturebeat.com

บริการที่ยังเต็มไปด้วยข้อคำถาม

ในตอนนั้น Model แบบ Peer-top-peer ยังเป็นเรื่องใหม่ ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้โดยสารรู้สึกไม่สบายใจที่จะร่วมโดยสารไปกับคนแปลกหน้า ประเด็นนี้ยังไม่มีใครทดสอบ แม้กระทั่ง Uber ที่ตอนนั้นยังใช้แต่คนขับที่มีใบอนุญาตขับขี่เพื่อการค้าเท่านั้น

กุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้มั่นใจ และกล้าใช้บริการ คือ ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย John และ Logan เคยมีโอกาสพูดคุยกับ Leah Busque ผู้ก่อตั้ง TaskRabbit และถามเธอว่า บริษัทมีการตรวจสอบคนที่เข้ามาสมัครเพื่อให้บริการงานต่าง ๆ ใน Platform อย่างไร สองหนุ่มต้องการนำแนวทางนี้ไปปรับใช้กับการคัดคนขับรถ

เพื่อสร้างการรับรู้ด้านความปลอดภัย Lyft ใช้วิธีตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และประวัติการขับขี่ของคนขับทุกคน ที่สำคัญคือเรื่องของบุคลิกภาพ ทีมคัดเฉพาะผู้ใช้ที่ได้เรทสูงจาก Zimride มาเป็นคนขับชุดแรกของ Lyft โดย John และ Logan ทำหน้าที่สัมภาษณ์

3 อาทิตย์ถัดมา Logan กับภรรยาได้ทดลองใช้บริการ Lyft เป็นครั้งแรก พวกเขาเรียกรถมารับจากออฟฟิศ Zimride เพื่อไปยัง Lion Pub ในละแวกใกล้เคียง การเดินทางไปยังที่หมายประสบผลสำเร็จ แต่ Logan กลับตัดสินใจไม่เข้าบาร์ เขามุ่งกลับไปยังออฟฟิศ เพราะเห็นว่ามีงานอีกเยอะที่ต้องทำเพื่อปรับปรุง Lyft

John และ Logan ได้นำเสนอ Lyft กับบอร์ดบริหารของ Zimride ซึ่งบอร์ดยังคงสนับสนุนเรื่อง การเพิ่มเส้นทาง การเป็นพาร์ทเนอร์กับรถประจำทาง และการนำเสนอสิ่งใหม่ที่ช่วยให้บริษัทมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้น แต่สำหรับ Lyft บอร์ดมีคำถามว่า “แท้จริงแล้วผู้โดยสารต้องการที่จะนั่งรถไปกับคนแปลกหน้าหรือไม่”

Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนจบ)
Credit: pinterest.com

นอกจากนี้สองผู้ก่อตั้งยังเจอคำถามอื่นอีกว่า Lyft จะสามารถแข่งกับ
Taxi ทั่วไปหรือแม้กระทั่ง Uber ได้หรือไม่ ในเมื่อผู้ใช้รู้สึกสบายใจกับบริการเหล่านั้นอยู่แล้ว Logan ซึ่งปกติเป็นคนเงียบขรึมพูดน้อย ตอบกลับอย่างรุนแรงผิดปกติว่า

“คุณล้อเล่นใช่มั้ย? บริการนี้มันเข้าถึงได้ง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า และให้ประสบการณ์ที่ดีกว่า ถ้าพวกเราทำให้มันเวิร์คได้  คำถามที่ว่าตลาดต้องการบริการแบบนี้มั้ยก็จะไม่เกิดขึ้น” เขากล่าวกับบอร์ด

Logan ยังกล่าวต่อว่า “ผู้คนเคยชินกับรถร่วมโดยสารมาหลายปี พวกเขาเคยนั่งรถไปกับคนแปลกหน้าบนรถ Taxi และรถดำลีมูซีนมาทั้งชีวิต อย่างน้อยการนั่งเบาะหน้าและพูดคุยไปกับคนขับ คือ การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับผู้โดยสาร พวกผมสามารถพิสูจน์ได้และ Lyft ก็กำลังดำเนินไปในทิศทางนี้”

การปล่อย Product ที่ “เจ๊ง” !!!

หลังจากปล่อย Product ไปได้ 8 สัปดาห์ Erin Simpson ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารคนใหม่ของ Zimride ได้เชิญสื่อด้านเทคโนโลยีมาเรียนรู้ Lyft และนี่เป็นงานเปิดตัว Product ใหญ่ครั้งแรกของเธอ

อีเว้นท์นี้เชิญสื่อด้านเทคโนโลยีในท้องถิ่นมาพบกับสองผู้ก่อตั้ง และสมาชิกใน Community ของ Zimride ในคืนวันพฤหัส หลังจากสื่อกลับไปแล้ว Simpson ส่งอีเมล์ให้สื่อเก็บข่าวนี้ไว้จนกว่าจะถึงอาทิตย์หน้า แต่ก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เมื่อหนึ่งในผู้เข้าร่วมปล่อยบทความเกี่ยวกับอีเว้นท์ออกไปในคืนนั้น

ในบทความมีใจความว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้พบกับ John, Logan และสมาชิกทีม Zimride ผมประทับใจในวิสัยทัศน์และ Product ใหม่ของพวกเขา ซึ่งผมรอที่จะใช้มันไม่ไหว แต่พอผมเห็นอีเมล์ว่าห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงอาทิตย์หน้า มันทำให้ผมรู้สึกขัดแย้งในทันที”

“ผมไม่รออย่างสื่อคนอื่น ๆ จึงได้เขียนบทความนี้และตีพิมพ์ในอีก 12 ชม.ให้หลัง แต่แทนที่จะเขียนเกี่ยวกับการปล่อย Lyft ผมเขียนว่ามันคือการปล่อย Product ที่ ‘เจ๊ง’ ออกไป”

Simpson ถึงกับอึ้งเมื่อเจอบทความนี้ โดยมี Logan อ่านบทความจากทางด้านหลังของเธอ “คุณหมายความว่ายังไง ‘เจ๊ง’? นี่มันเกิดขึ้นได้ไง” Logan ถามก่อนที่จะระเบิดอารมณ์โมโห ส่วน Simpson ถึงกับต้องเดินออกไปสงบสติอารมณ์

บทความนี้สร้างความโกลาหล แต่เรื่องราวการปล่อย Product ที่ ‘เจ๊ง’ ออกไปก็ทำให้มีคนสนใจอยากรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ไม่กี่วันถัดมานักเขียนบทความดังกล่าวตัดสินใจเขียนบทความเกี่ยวกับการเปิดตัว Lyft ในขณะเดียวกัน Lyft ก็ถูกหยิบไปพูดถึงในช่องทางอื่น รวมถึงสื่อหลักอย่างนิตยสารไทม์

“ผมคิดว่า เราได้ผลลัพธ์ในทางที่ดีมากกว่า” John กล่าวกับนักเขียนคนนั้นหลังจากที่เหตุการณ์ซาลง มันไม่ได้เป็นการเปิดตัว Product ใหม่ของ Zimride ตามที่ทุกคนคาดหวัง แต่มันมีอย่างน้อยคนก็พูดถึงมัน

นอกจากนี้ยังมีคนสนใจใช้บริการนี้อีกด้วย 5 ปีหลังจากที่พยายามให้ผู้คนแชร์รถร่วมกัน ในที่สุด Zimride ก็เจอโมเดลที่มันเวิร์กเสียที ไม่กี่เดือนถัดมา Lyft ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ถึงขนาดบริการไม่พอกับความต้องการ จนต้องเพิ่ม Waitlist เข้าไป

ความสำเร็จอย่างรวดเร็ว Lyft ทำให้ทุกคนหายใจโล่งขึ้น จากที่มืดแปดด้าน ตอนนี้ทุกคนในบริษัทต้องการที่จะทำงานกับ Product ตัวใหม่ พวกเขามีลูกค้าที่จ่ายเงินกว่า 150 คน แต่ถึงอย่างนั้น John และ Logan ก็รู้ดีว่าพวกเขาไม่สามารถทิ้ง Zimride ได้

ลาก่อน Zimride ถนนเส้นยาวสู่ Lyft อนาคตที่ใหญ่กว่า

คำถามสำคัญจากผู้ถือหุ้น คือ แล้วอนาคตของ Zimride จะเป็นอย่างไร คุณจะเลือกอยู่ต่อกับ Product ที่ใช้เวลาสร้างมา 5 ปี หรือจะไปต่อกับโครงการใหม่ที่เพิ่งทำได้แค่ 3 สัปดาห์ ทางไหนกันแน่ที่ John กับ Logan ต้องการจะไป

ทั้งคู่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนปรึกษาหารือกับบอร์ดและที่ปรึกว่า พวกเขาต้องการปรับเปลี่ยนบริษัท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ Product ตัวใหม่ การตัดสินใจอนาคตของบริษัท Zimride นั้นตึงเครียด และทำให้ John ถึงกับเป็นไมเกรน

หลังจากที่ปรึกษาหารือเสร็จ สองผู้ก่อตั้งตัดสินใจที่จะซัพพอร์ต Zimride ต่อไป แต่ลดจำนวนพนักงานเซลลง และย้ายพนักงาน 90% ไปทำ Lyft เพราะพวกเขาเห็นโอกาสที่ใหญ่กว่า เมื่อได้แนวทางที่ชัดเจนแล้ว ไม่นานอาการปวดหัวของ John ก็หายไป

ตอนนี้ Lyft ไม่ได้เป็นเพียง Product หนึ่งของ Zimride อีกต่อไป แต่มันกลายเป็นแกนหลักที่บริษัทโฟกัสเต็มที่ ดังนั้นในเดือนพฤษาคม ปี 2013 พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อจาก Zimride เป็น Lyft ในที่สุด

Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน
Credit: i.huffpost.com

ถึงจุดนี้สองผู้ก่อตั้งรู้แล้วว่า พวกเขาไม่สามารถซัพพอร์ต Zimride ได้อีกต่อไป ทั้งคู่จึงมองหาคนที่จะมาซื้อธุรกิจ ในช่วงปลายปี 2012 John และ Logan เริ่มติดต่อหาบริษัทที่สนใจธุรกิจที่พวกเขาสร้างมา และอีกไม่กี่เดือนต่อมาก็ได้คนที่เหมาะสม สุดท้าย Lyft ขาย Zimride ให้กับ Enterprise Holdings

John รู้จักกับคนในทีม Enterprise จากการไปร่วมงานคอนเฟอเรนซ์เกี่ยวกับการขนส่งมาหลายปี มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเงิน แต่พวกเขามองว่า Enterprise มีธุรกิจรถตู้ร่วมโดยสารอยู่แล้ว และน่าจะได้ประโยชน์จากการซื้อทรัพย์สินของ Zimride โดยเฉพาะฐานลูกค้าใหม่ และซอฟแวร์บางตัวที่สามารถนำไปใช้ได้

ในที่สุด Zimride ก็ Exit ได้เสียที แม้ว่ามันจะไม่ตรงกับความตั้งใจของผู้ก่อตั้งและนักลงทุนกลุ่มแรก ๆ ของ Zimride ก็ตาม แต่เงินที่ได้จากการขายธุรกิจ ก็กลายมาเป็นทุนที่ช่วยให้ Lyft เร่งขยายธุรกิจได้

นี่คือการปิดฉากถนนเส้นยาวที่ John และ Logan ร่วมกันเดินทางกันมาในฐานะผู้ก่อตั้ง Zimride มันจบแล้ว แต่สำหรับ Lyft มันคือการเริ่มต้นของทั้งคู่

Lyft พร้อมลุย

ในช่วงที่ขาย Zimride นั้น Lyft ก็มีบริการในอีก 6 เมือง และยิ่งได้เงินมา Lyft ก็ขยายไปเกือบ 70 ตลาดในอเมริกา การเติบโตแบบโคตรเร็ว ทำให้ธุรกิจเจอความท้าทายต่าง ๆ มากมายอย่างเลี่ยงไม่ได้

ส่วนหนึ่ง คือ การต่อสู้กับกฏหมาย Lyft ต้องต่อสู้กับการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นของบริการใหม่ ดูเหมือนว่าในแต่ละตลาดใหม่ธุรกิจที่ใช้โมเดลแบบ Peer-to-peer นั้นถูกกดดันจากกลุ่ม Taxi ในท้องถิ่นทั่วอเมริกา

อย่าง California และ Seattle Lyft และบริษัทที่ให้บริการ Ride-sharing รายอื่น ๆ ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลในการสร้าง Framework ใหม่สำหรับบริการของพวกเขา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่นยังคงพยายามปิดบริการเหล่านี้ จากการการอ้างถึงเรื่องความปลอดภัยไม่ปลอดภัย

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของ Lyft คือ การแข่งกับผู้นำตลาดอย่าง Uber แม้ว่า Uber จะช่วยปูทางแก่ Lyft ตรงที่ทำให้ผู้คนคุ้นชินกับการเรียกรถมารับผ่านแอพมือถือ และเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายอื่น ๆ เข้ามาในตลาด แต่สิ่งที่ Uber ก็มีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงเพื่อตีคู่แข่งออกจากการแข่งขันเช่นกัน

Lyft เป็นคนบุกเบิกโมเดล Peer-to-peer สำหรับการขนส่ง โดยเสนอบริการทางเลือกที่มีราคาต่ำกว่า Uber และรถ Taxi ท้องถิ่น Uber ก็ลอกเลียนแบบโมเดลอย่างรวดเร็ว พวกเขาสร้างกองทัพคนขับของ Uber ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่เชิงพาณิชย์ เพื่อแข่งกับ Lyft

2 ปีผ่านไป Uber และ Lyft แทบจะกลายเป็นผู้เล่น 2 เจ้าที่ครองส่วนแบ่งตลาดในเมืองที่พวกเขาให้บริการ ส่วนปีที่ผ่านมาทั้งคู่เล่นสงครามราคากันเพื่อแย่งผู้โดยสาร รวมถึงคนขับของแต่ละฝ่ายอีกด้วย อย่างในก็ตามในหลายกรณี คนขับมักลงแอพทั้ง Uber และ Lyft ไว้ เพื่อให้ได้โอกาสในการรับลูกค้ามากขึ้น

Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนจบ)
Credit: sfgate.com

Uber นั้นมาก่อน Lyft ทำให้มีบริการในหลายตลาด รวมถึงมีเงินทุนมากกว่า Lyft หลายเท่า แต่ Lyft ก็ยังสามารถกวดไล่เข้ามาได้ในไม่ช้า เพราะตลาดการขนส่งในเมืองนั้นใหญ่มาก นี่แสดงให้เห็นว่าในตลาดสามารถมีผู้เล่นหลายคนอยู่ร่วมกันได้ โดย Lyft เป็นผู้เล่นเบอร์ 2 ที่แข็งแกร่ง

นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า การลงไปทำตลาดให้บริการนั้น อาจไม่พิจารณาเพียงแค่ความหนาแน่นในเมืองนั้น ๆ แต่มีอีกหลาย ๆ ที่อย่าง Providence, R.I. ก็แสดงให้เห็นว่า Model นี้สามารถขยายไปยังเขตชานเมือง และช่วยให้ผู้คนไปไหนมาไหนได้ แม้ว่าในที่เหล่านั้นจะมีคนที่เป็นเจ้าของรถจำนวนมากก็ตาม

การเดินทางของ Lyft ช่างยาวนานกว่าจะมาประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืน การทดลองล่าสุด คือ สิ่งสำคัญเมื่อ Lyft ปล่อยบริการใน San Francisco สองผู้ก่อตั้งเข้าใกล้เป้าหมายที่วางไว้อีกก้าวหนึ่ง คือ การลดจำนวนรถบนท้องถนน

แนวทางนี้ บริษัททำการจับคู่คนที่ต้องการโดยสารกับรถที่มีที่นั่งว่าง ผ่านตัว Product ที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากได้ และมีราคาต่ำกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกันนี้สุดท้ายก็เพื่อ เพิ่มความต้องการ เพื่มอัตราการครองที่นั่ง และลดความต้องการที่จะโดยสารรถเพียงแค่คนเดียวได้ เหล่านี้ คือ ความตั้งใจ เป้าหมาย และ Passion ในการทำสตาร์ทอัพของสองหนุ่มอย่าง John และ Logan ครับ

Comments

comments