Thursday, April 25, 2024
คอร์ส Airbnb Experiences Host สร้างคุณเป็นโฮสต์จัดประสบการณ์บน Airbnb สร้างรายได้จากสิ่งที่คุณรัก
BucketFeet ธุรกิจที่เกิดจากงานอดิเรก ก่อนที่ผู้ก่อตั้งจะเห็นศักยภาพของมันโดยบังเอิญในระหว่างเดินทาง จนนำไปสู่การก่อตั้งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพรองเท้าผ้าใบที่มีลวดลายมากมายจากศิลปินต่าง ๆ ทั่วโลก ความน่าสนใจของเรื่องนี้อยู่ที่ว่าสองผู้ก่อตั้งไม่มีความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจผลิตรองเท้าขายมาก่อน พวกเขาทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จมาติดตามอ่านกันได้เลยครับ ย้อนกลับไปในเดือนมกราคม 2011 Raaja Nemani และ Aaron Firestein กำลังคอยรองเท้าผ้าใบจำนวน 2,600 คู่ที่กำลังถูกส่งมายังบ้านของพวกเขาในชิคาโก ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดพายุหิมะ จึงเป็นหน้าที่ของรถบรรทุกขนาดเขื่องที่บรรทุกของที่สั่งมาให้พวกเขา เมื่อรถมาถึงสองหนุ่มก็พบว่าพวกเขาล้มเหลวอีกแล้วจากสิ่งที่พวกเขาคิดไว้ พนักงานขับรถต้องการทราบว่ามีท่ารถขนถ่ายสินค้าออกอยู่ที่ไหน และใครจะเป็นคนขนสินค้าลง Nemani กล่าวว่า "ตอนนั้นพวกเราเหมือนไอ้งั่ง นี่มันถนนในเมืองนะ มันจะไปมีท่ารถตรงไหน"  และทั้งคู่ต้องคิดทำอะไรสักอย่าง ทันใดนั้นพวกเขาก็นึกออก จึงโทรเรียกเพื่อน 2-3 คนมาช่วย และจ่ายเงินให้กับพนักงาน 100 เหรียญ เพื่อเป็นค่าแรง และค่าเสียเวลาถึง 3 ชั่วโมง ในการช่วยกันขนย้ายกล่องรองเท้าจำนวนมหาศาลลงมากองที่พื้นหิมะ ทั้ง Nemani และ Firestein ไม่เคยมีประสบการณ์จัดการคลังสินค้ามาก่อน รถบรรทุกขนส่งขนาดใหญ่จึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่ผิดพลาดของพวกเขาในการทำธุรกิจนามว่า BucketFeet แบรนด์รองเท้าที่ถูกออกแบบจากศิลปินต่าง ๆ...
 เรื่องราวของ Nick Walter เด็กหนุ่มวัย 25 ปี ผู้พิสูจน์ไอเดียคอร์สสอนทำแอพไอโฟนบน Kickstarter จนประสบความสำเร็จ ทำให้ผมสนใจเรื่องราวของผู้ประกอบการวัยรุ่นคนนี้มาก ถึงขั้นลองขุดคุ้ยลึกขึ้น และพบว่าหนังสือสุดฮิตอย่าง The Four-Hour Work Week ของ Tim Ferris มีอิทธิพลต่อเด็กหนุ่มคนนี้มากในการกระโจนเข้าสู่โอกาสทางธุรกิจด้านการศึกษา เรื่องราวต่อไปนี้เผยให้เห็นถึงเรื่องราวของ Walter ไอเดีย แรงบันดาลใจ และการมองเห็นช่องทางที่จะก้าวสู่ผู้ประกอบการ รวมถึงรายละเอียดคร่าว ๆ ของ Udemy แพลตฟอร์มสำหรับคอร์สเรียนออนไลน์ที่ Walter ใช้เป็นช่องทางแรกหารายได้จากคอร์สเรียน ก่อนที่จะนำไประดมทุนใน Kickstarter และนี่คือเรื่องราวของ Nick...
 มาต่อกันด้วยตอนจบของสตาร์ทอัพ Lyft บริการโดยสารรถร่วมกันแบบ On-demand หากใครยังไม่อ่านตอนแรก ไล่ย้อนกลับไปอ่านได้ที่นี่ครับ "Lyft จาก Zimride ถนนเส้นยาวสู่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน (ตอนแรก)" เรื่องราวของ Lyft ทำให้เราได้บทเรียนอย่างหนึ่ง คือ เราจะยึดติดกับ Comfort Zone (รายได้ของ Zimride ถือว่าไม่ขี้เหร่เลยเพียงแต่ธุรกิจไม่สามารถโตไปได้มากกว่านี้) หรือกล้าที่จะลองเสี่ยงทำสิ่งใหม่หลังจากที่ล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน ที่เค้าบอกว่าคุณล้มเหลวได้หลายครั้ง แต่ขอให้โดนสักครั้งก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดกับสตาร์ทอัพรายนี้ครับ น่าสนใจใช่มั้ยครับงั้นมาติดตามกันต่อเลยดีกว่า ความเดิมจากตอนที่แล้ว John และ Logan สองหนุ่มผู้ก่อตั้ง Zimride บริการแชร์รถร่วม ซึ่ง Logan ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเดินทางไปเที่ยวที่ Zimbubwe และลองนำแนวคิด Carpool มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหารถติดบนท้องถนนที่เกิดขึ้นในบ้านเกิด ทั้งสองเน้นไปที่กลุ่มนศ.ที่ต้องการเดินทางจากมหาวิทยาลัย...
 ยินดีต้อนรับผู้อ่านทุกคนสู่ Startup Story นะครับ ผมเว้นจากการเขียนเรื่องราวของสตาร์ทอัพมานานมาก เพราะบทความในหมวด Startup Story ส่วนมากจะเป็นบทความยาวที่ต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลหลายแหล่ง มาเพื่อแปลและเรียบเรียง ซึ่งปกติจะกินเวลาสัก 2-3 วัน สตาร์ทอัพที่ผมหยิบมาเล่าในบทความนี้ คือ Lyft สตาร์ทอัพ Ride-sharing จากอเมริกาซึ่งหลายคนรู้จักในฐานะคู่แข่งของ Uber หลายคนอาจมองว่า Lyft คือธุรกิจ Me too หรือลอกเลียนแบบ Uber แต่หลังจากที่อ่านบทความนี้ คุณจะได้พบข้อเท็จจริงที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับเรื่องราวการเริ่มต้นธุรกิจของ Lyft ซึ่งไอเดียเกิดก่อน Uber ด้วยซ้ำ มันเต็มไปด้วย Passion และ Vision ของผู้ก่อตั้งที่จะต้องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบขนส่งในประเทศที่ตนเองประสบ เรื่องราวของ Lyft ผมต้องของอนุญาตแบ่งบทความออกเป็น 2...
 หากถามว่ารู้จัก Airbnb (แอร์บีเอ็นบี) มั้ย หลายคนคงส่ายหน้าแล้วถามว่ามันคืออะไร แต่ถ้าเป็นคนในแวดวงไอทีและสตาร์ทอัพจะร้องอ๋อทันที เพราะ Airbnb เป็นสตาร์ทอัพเกี่ยวกับการแบ่งปันที่พักที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก ณ ขณะนี้ ด้วยแนวคิดการทำธุรกิจที่ให้ผู้คน ใครก็ตามแต่ที่มีห้องว่างสามารถเปิดห้องให้ผู้อื่นมาเช่าได้ แนวคิดฟังดูโคตรบ้าเลย ใครจะกล้าเปิดบ้านให้คนแปลกหน้าเข้ามาเช่าเพื่อพักอาศัย แต่ผู้ก่อตั้งก็ได้หยิบหยกประเด็นที่น่าสนใจมานำเสนอ เพราะนั่นคือโอกาสทางธุรกิจไงล่ะครับ  ในแง่ของนักท่องเที่ยว คือ เวลาที่คุณไปเที่ยว คุณไม่จำเป็นต้องไปพักที่โรงแรมเสมอไป ซึ่งมีราคาแพง คุณสามารถหาที่พักราคาถูกได้จาก Airbnb และที่พักก็มีให้คุณเลือกหลากหลาย ตั้งแต่เต็นท์ในป่า ยันปราสาทโบราณ หรือแม้กระทั่งนอนในอิเกียก็ยังได้ ราคาที่พักก็มีตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนไปถึงหลักหมื่นบาทต่อคืน - แชร์ประสบการณ์และเทคนิคการจองที่พักบน Airbnb ในไต้หวัน ในแง่ของผู้ประกอบการ Airbnb เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้คุณสามารถมีรายได้ เพียงแค่คุณมีห้องว่างสักห้องคุณก็สามารถสร้างรายได้ผ่าน Airbnb ได้ทันที โดยการเป็นเจ้าบ้านเปิดห้องให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเข้าพักได้ครับ ลูกค้ารายแรกของเกสเฮ้าท์ที่ผมทำอยู่ก็จองห้องมาผ่าน...